โคกหนองนา

          ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีสาเหตุหลักมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขต ของมนุษย์ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสมดุลระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อม การเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อ แหล่งผลิตอาหาร เช่น ความแห้งแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดศัตรูพืช และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อภาค การเกษตรอย่างมาก คือ การเกิดภัยแล้งที่นับวันจะมีความรุนแรง เพิ่มขึ้นในทุกปี

          ที่ผ่านมา ประเทศไทยรับมือกับปัญหาภัยแล้งใน หลากหลายรูปแบบ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำ การสร้างเขื่อน หรือการจัดทำระบบชลประทาน ซึ่งรูปแบบเหล่านี้สามารถใช้แก้ไข ปัญหาได้ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเท่านั้น สำหรับพื้นที่ห่างไกล นอกเขตชลประทานที่มีพื้นที่ถึง 121,200,000 ไร่ ยังคงต้องประสบ กับปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร

รูปแบบ

โคก หนอง นา โมเดล

          “โคก หนอง นา โมเดล” จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระราชดำรัสใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทนำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่การเกษตร โดยมีการผสมผสาน กับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน
          โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้ และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความ สมบูรณ์และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น



การออกแบบที่คำนึงถึง

“ภูมิสังคม”

          การออกแบบพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล จะคำนึงถึง “ภูมิสังคม” เป็นสำคัญ “ภูมิ” คือ สภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม สังคม คือ วัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ใน พื้นที่นั้น ซึ่งในการออกแบบจะให้ความสำคัญกับ “สังคม” มากกว่า “ภูมิ” คือต้องออกแบบตามสังคมและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ แม้ว่าภูมิประเทศจะเหมือนกันก็ตาม หากสังคมต่างกัน การออกแบบ ก็จะต่างกันโดยสิ้นเชิง

การกักเก็บน้ำของ

“โคก หนอง นา” โมเดล

          ตัวอย่างแนวคิดการจัดการน้ำ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน (ด้วยหนอง คลองไส้ไก่ และคันนา) และใต้ดิน (ด้วยป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างตามแนว พระราชดำริ) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

          หลักการสำคัญของโคก หนอง นา โมเดล คือการ เก็บกักน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งการออกแบบพื้นที่จะให้ความสำคัญ ต่อการเก็บนำ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. เก็บน้ำไว้ในหนอง: การขุด หนองจะต้องขุดให้คดโค้ง และมีระดับตื้นลึกแตกต่างกันไปในแต่ละจุด ซึ่งก่อนขุดต้องมีการคำนวณปริมาตรนํ้าที่สามารถเก็บได้ในหนอง เพื่อให้พอใช้งาน

2. เก็บน้ำไว้บนโคก: ทำได้โดยการปลูกป่าและเก็บ ในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน ไม้แต่ละระดับควรจะมีอย่างน้อย ไม่น้อยกว่า 21 ชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในดิน

3. เก็บไว้ในนา ยกคันนาให้สูงและกว้าง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกพืชผักไว้บนคันนาได้อีกด้วย